ทะเบียนหย่าต่างสำนัก
การจดทะเบียนหย่าต่างสำนักทะเบียน (คู่หย่าอีกฝ่ายอยู่ที่ประเทศไทย)
1. ขอบเขตการให้บริการ
สถานกงสุลใหญ่ฯ ณ นครลอสแอนเจลิส ให้บริการจดทะเบียนหย่าสำหรับคนไทยที่พำนักใน 13 รัฐในเขตอาณา คือ
1) แคลิฟอร์เนีย 2) โคโลราโด 3) เนวาดา 4) นิวเม็กซิโก 5) มอนทานา 6) ยูทาห์ 7) วอชิงตัน
8) ไวโอมิง 9) อะแลสกา 10) แอริโซนา 11) ออริกอน 12) ไอดาโฮ 13) ฮาวาย
(รวมทั้ง เกาะกวมและดินแดนของสหรัฐฯ ในมหาสมุทรแปซิฟิก)
2. หลักเกณฑ์
- คู่หย่าฝ่ายที่อยู่ในสหรัฐอเมริกาจะต้องยื่นคำร้องขอจดทะเบียนหย่าจัดส่งเอกสารตามรายการข้างต้นไปยัง สถานกงสุลใหญ่ฯ ทางไปรษณีย์
- ทำการนัดหมายล่วงหน้า โดยส่งสำเนาเอกสารที่ใช้ตามข้อ 1 และ 2 ให้สถานกงสุลใหญ่ฯ เพื่อตรวจสอบและจัดพิมพ์เอกสารการจดทะเบียนหย่าล่วงหน้า (อย่างน้อย 10 วันทำการ) ทางไปรษณีย์ และรอการยืนยันวันนัดจากเจ้าหน้าที่
- สำหรับบุคคลที่จดทะเบียนสมรสก่อนวันที่ 5 มิถุนายน 2546 คู่หย่าฝ่ายหญิงจะต้องมีหนังสือเดินทางไทย และหลักฐานทะเบียนราษฎรที่เป็นชื่อสกุลคู่หย่าฝ่ายชาย เพื่อใช้ในการยื่นคำร้องขอจดทะเบียนหย่า
การหย่าต่างสำนักทะเบียน คือ การหย่าโดยความยินยอมของคู่หย่าทั้งสองฝ่าย โดยที่ต่างฝ่ายต่างอยู่คนละแห่ง ไม่สามารถเดินทางไปจดทะเบียนหย่า ณ สำนักทะเบียนเดียวกันได้ ทั้งนี้ คู่หย่าจะต้องตกลงกันว่า ฝ่ายใดจะเป็นผู้ยื่นคำร้องขอจดทะเบียนก่อนที่สำนักทะเบียนใด และจะให้สำนักทะเบียนใดเป็นผู้จดทะเบียนให้ การหย่าจะสมบูรณ์ต่อเมื่อมีการจดทะเบียนแห่งที่ 2 เรียบร้อยแล้ว
การหย่าต่างสำนักทะเบียน มี 2 แบบ ดังนี้
แบบ 1 คู่หย่าฝ่ายที่อยู่ประเทศไทยเป็นผู้ยื่นเรื่องที่สำนักทะเบียนที่ประเทศไทย
|
- สำนักทะเบียนแห่งที่ 1 คือ สำนักทะเบียนที่ประเทศไทย
- สำนักทะเบียนแห่งที่ 2 คือ สถานกงสุลใหญ่ฯ ซึ่งจะเป็นผู้จดทะเบียนและออกใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนหย่าให้
ข้อมูลทั่วไป คู่หย่าฝ่ายที่อยู่ประเทศไทยเป็นผู้เริ่มยื่นขอจดทะเบียนหย่าที่สำนักทะเบียนที่ประเทศไทยก่อน เอกสารการหย่าต่างสำนักทะเบียนจะถูกส่งผ่านกระทรวงการต่างประเทศมายังสถานกงสุลใหญ่ฯ หลังจากที่สถานกงสุลใหญ่ฯ ได้รับเอกสารแล้ว จะดำเนินการติดต่อคู่หย่าฝ่ายที่อยู่ในสหรัฐอเมริกาเพื่อมาดำเนินการจดทะเบียนหย่า (ด้วยตนเอง) ที่สถานกงสุลใหญ่ฯ ทั้งนี้ สถานกงสุลใหญ่ฯ จะเป็นสำนักทะเบียนที่ออกใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนหย่าให้
ขั้นตอนการดำเนินการ
- เมื่อสถานกงสุลใหญ่ฯ ได้รับเอกสารการหย่าจากสำนักทะเบียนที่ประเทศไทยซึ่งส่งผ่านกระทรวงการต่างประเทศแล้ว จะดำเนินการติดต่อคู่หย่าฝ่ายที่อยู่ในสหรัฐอเมริกาเพื่อมาลงลายมือชื่อในเอกสารการหย่า
- ในวันนัดหมาย คู่หย่าฝ่ายที่อยู่ในสหรัฐอเมริกาจะต้องจัดเตรียมเอกสารดังต่อไปนี้
- กรอกแบบฟอร์ม “คำร้องนิติกรณ์” –> คลิกที่นี่
- หนังสือเดินทาง และ/หรือบัตรประจำตัวประชาชน ฉบับจริงที่ยังมีอายุอยู่ (หากเป็นชาวต่างชาติ ให้แสดงหนังสือเดินทางของประเทศนั้น ๆ)
- สำเนาทะเบียนบ้าน ที่มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก
- US ID หรือ US Driver License (ถ้ามี)
- ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนสมรสฉบับจริง หรือ สำเนาที่มีตราประทับรับรองจากสำนักงานเขต/อำเภอ (หากไม่มี จะต้องไปดำเนินการขอคัดสำเนามาก่อน)
- บัตรประชาชน หรือหนังสือเดินทางไทย ของพยาน 2 ท่าน ในวันที่จดทะเบียนหย่า พยานทั้งสองท่านต้องเข้ามาพร้อมกัน
- สถานกงสุลใหญ่ฯ จะมอบใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนหย่าให้แก่คู่หย่าฝ่ายที่อยู่ในสหรัฐอเมริกาในวันที่มาจดทะเบียนหย่า และจะส่งใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนหย่าอีกฉบับผ่านกระทรวงการต่างประเทศไปยังสำนักทะเบียนที่ประเทศไทยเพื่อมอบให้แก่คู่หย่าฝ่ายที่อยู่ประเทศไทยต่อไป
|
แบบที่ 2 คู่หย่าฝ่ายที่อยู่สหรัฐอเมริกาเป็นผู้ยื่นเรื่องที่สถานกงสุลใหญ่ฯ |
- สำนักทะเบียนแห่งที่ 1 คือ สถานกงสุลใหญ่ฯ
- สำนักทะเบียนแห่งที่ 2 คือ สำนักทะเบียนที่ประเทศไทย ซึ่งจะเป็นผู้จดทะเบียนและออกใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนหย่าให้
ข้อมูลทั่วไป คู่หย่าฝ่ายที่อยู่ในสหรัฐอเมริกาเป็นผู้เริ่มยื่นขอจดทะเบียนหย่าที่สถานกงสุลใหญ่ฯ (จะต้องเตรียมเอกสารจากคู่หย่าที่อยู่ประเทศไทยเพื่อประกอบการยื่นขอ) เอกสารการหย่าต่างสำนักทะเบียนจะถูกส่งผ่านกระทรวงการต่างประเทศไปยังสำนักทะเบียนที่ประเทศไทย (ตามที่แจ้ง) ทั้งนี้ สำนักทะเบียนที่ประเทศไทย จะเป็นสำนักทะเบียนที่ออกใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนหย่าให้
ขั้นตอนการดำเนินการเอกสารที่ใช้และขั้นตอนที่เกี่ยวข้องจัดเตรียมเอกสารจากคู่หย่าฝ่ายที่อยู่ประเทศไทย
1.1. หนังสือสัญญาหย่า ต้องกรอกข้อความรายละเอียดต่าง ๆ รวมทั้งข้อตกลงเรื่องทรัพย์สิน บุตร เรื่องอื่น ๆ และคำนำหน้าชื่อ ฝ่ายหญิงหลังการหย่า โดยคู่หย่าฝ่ายที่อยู่ประเทศไทยและพยานคนไทย 2 คน จะต้องลงลายมือชื่อต่อหน้าเจ้าหน้าที่สำนักงานเขต/อำเภอ และให้เจ้าหน้าที่ลงลายมือชื่อและประทับตรารับรองลายมือชื่อของคู่หย่าและพยานทั้งสองด้วย (ส่วนช่องลายมือชื่อคู่หย่าฝ่ายที่อยู่สหรัฐอเมริกาให้เว้นว่างไว้ เพื่อมาลงลายมือชื่อต่อหน้าเจ้าหน้าที่ ณ สถานกงสุลใหญ่ฯ)
คำแนะนำการกรอกหนังสือสัญญาหย่า :
- ข้อตกลงในการหย่าเรื่องบุตร โปรดระบุจำนวนบุตร ชื่อนามสกุล วันเดือนปีเกิด และอายุของบุตรแต่ละคน (ปีบริบูรณ์) หากมีบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ (อายุน้อยกว่า 20 ปี บริบูรณ์) ต้องระบุผู้ที่จะมีอำนาจปกครองบุตรภายหลังการหย่าด้วย แต่หาก ไม่มีบุตรร่วมกัน ให้ระบุว่า “ไม่มี”
- ถ้าไม่ต้องการระบุข้อตกลงในการหย่าเรื่องทรัพย์สินให้เขียนว่า “ไม่ระบุ”
- ถ้าไม่ต้องการระบุข้อตกลงในการหย่าเรื่องอื่น ๆ ให้เขียนว่า “ไม่มี”
1.2. สำเนาเอกสารประจำตัวของคู่หย่าฝ่ายที่อยู่ประเทศไทยและพยานทั้งสอง ซึ่งต้องได้รับการรับรองสำเนาถูกต้องจากเจ้าหน้าที่สำนักงานเขต/อำเภอ หรือเจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศ เช่น สำเนาหนังสือเดินทาง สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาใบสำคัญการเปลี่ยนชื่อ ฯลฯ
จัดเตรียมเอกสารของคู่หย่าที่อยู่ในสหรัฐอเมริกา
2.1. กรอกแบบฟอร์ม “คำร้องขอจดทะเบียนหย่า” –> คลิกที่นี่
คำแนะนำการกรอกคำร้องขอจดทะเบียนหย่า – ฝ่ายหญิงจะต้องวงเล็บนามสกุลเดิมก่อนสมรสไว้ด้วย (ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ) – การกรอกอายุจะต้องเป็นอายุที่ครบปีบริบูรณ์ เช่น อายุ “30 ปี 7 เดือน” ให้กรอกอายุ “30 ปี” – ช่องลายมือชื่อคู่หย่าฝ่ายที่อยู่ประเทศไทยให้เว้นว่างไว้
2.2. กรอกแบบฟอร์ม “บันทึก เรื่อง การจดทะเบียนการหย่าต่างสำนักทะเบียน"
คำแนะนำการกรอกบันทึกเรื่องการจดทะเบียนหย่าต่างสำนักทะเบียน – ข้อมูลของนายทะเบียนให้เว้นว่างไว้
2.3. กรอกแบบฟอร์ม “คำร้องนิติกรณ์” –> คลิกที่นี่ 2.4. กรอกแบบฟอร์ม “คำร้องขอนัดหมายการจดทะเบียนหย่าต่างสำนักทะเบียน” 2.5. หนังสือเดินทาง และ/หรือบัตรประจำตัวประชาชน ฉบับจริงที่ยังมีอายุอยู่ (หากเป็นชาวต่างชาติ ให้แสดงหนังสือเดินทางของประเทศนั้น ๆ) 2.6. สำเนาทะเบียนบ้าน ที่มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก 2.7. US ID หรือ US Driver License (ถ้ามี) 2.8. ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนสมรสฉบับจริง หรือ สำเนาที่มีตราประทับรับรองจากสำนักงานเขต/อำเภอ (หากไม่มี จะต้องไปดำเนินการขอคัดสำเนามาก่อน)
2.9. บัตรประชาชน หรือหนังสือเดินทางไทย ของพยาน 2 ท่าน ในวันที่จดทะเบียนหย่า พยานทั้งสองท่านต้องเข้ามาพร้อมกัน
|
|
3. ค่าธรรมเนียม
การขอจดทะเบียนหย่าไม่มีค่าธรรมเนียม
4. ขั้นตอนการยื่นขอจดทะเบียนหย่า
4.1 กรอกคำร้องทั้งหมด จัดส่งเอกสารตามรายการข้างต้นไปยัง สถานกงสุลใหญ่ฯ ทางไปรษณีย์
4.2 เจ้าหน้าที่ตรวจสอบและจัดทำนัดหมายขอจดทะเบียนหย่าล่วงหน้าอย่างน้อย 5 วันทำการ
4.3 รอการยืนยันวันนัดจากเจ้าหน้าที่
4.4 วันจดทะเบียนหย่า คู่หย่าทั้งสองฝ่ายพร้อมพยานจะต้องมาด้วยตนเอง ที่สถานกงสุลใหญ่ฯ ตามวัน-เวลานัด
โดยนำเอกสารตัวจริงตามรายการข้างต้นมาแสดง
ซึ่งภายหลังการจดทะเบียนหย่าแล้ว
คู่หย่าจะได้รับใบสำคัญการหย่าในวันเดียวกัน
5. ที่อยู่ / สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
Legalization Section
Royal Thai Consulate – General
611 N. Larchmont Boulevard, 2nd Fl.,
Los Angeles, CA 90004
Tel: 323 – 962 – 9574 ext. 220
Download Form |
1. แบบคำร้องขอนัดหมายการจัดทะเบียนหย่า [ Download ] 2. แบบคำร้องนิติกรณ์สำหรับการจดทะเบียนหย่า [ Download ] 3. คำร้องขอจดทะเบียนการหย่า [ Download ] 4. หนังสือสัญญาหย่า [ Download ] |
KS/1/26/23